• ภาษาไทย
    • English

วิศวกรรมเครื่องนุ่งห่ม จัดอบรมออนไลน์ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปพัฒนาชุมชน

วิศวกรรมเครื่องนุ่งห่ม จัดอบรมออนไลน์ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปพัฒนาชุมชน
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2564 หลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องนุ่งห่ม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย จัดโครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปพัฒนาชุมชน ได้รับทุนการสนับสนุนการวิจัยจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดโครงการในวันที่ 3 , 4 , 6 และวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom meeting) ซึ่งเป็นการอบรมเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านสิ่งทอ เพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรทางการเกษตรในการย้อมผ้าจากสีของพืชพื้นถิ่นทั้ง 5 จังหวัดภาคใต้ โดยมีผศ.พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์ ผศ.พรโพยม วรเชฐวราวัตร์ อาจารย์บุสรินทร์ คูนิอาจ เป็นวิทยากร และผศ.วรวิทย์ ศรีวิทยากูล ร่วมคิดค้นนวัตกรรม
การจัดโครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปพัฒนาชุมชน ได้รับความมือจากกลุ่มตัวแทนชุมชนทั้ง 5 จังหวัด ได้แก่
จังหวัดสงขลาเป็นการพัฒนากระบวนการผลิตแผ่นใยตาล มาตกแต่งผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระเป๋า เครื่องแต่งกายสตรี ของใช้ และนำเส้นใยจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเช่น เชือกกล้วย เตยปาหนัน หางอวน มาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ด้วย
จังหวัดกระบี่เป็นการพัฒนากระบวนการสกัดสีจากพืชท้องถิ่นอื่นๆ เช่น ใบเงาะ ใบมังคุด เพื่อใช้ในการทำผ้าบาติก และการตกแต่งสำเร็จปรับผิวสัมผัสของผ้าให้มีความนุ่มมากขึ้น โดยวิธีการหมักโคลน
จังหวัดสตูลเป็นการพัฒนาการสกัดสีจากขี้เลื่อยหรือเศษไม้ของต้นจำปาดะ ซึ่งเป็นพืชในท้องถิ่น และนำมาใช้ย้อมสี ด้วยเทคนิคมัดย้อม และพัฒนากระบวนการพิมพ์ด้วยการใช้บล็อกไม้
จังหวัดตรังเป็นการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักร อุปกรณ์ในการผ่าเส้นเตยด้วยเครื่องจักร เพื่อลดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิตเส้นเตย พร้อมทั้งตกแต่งกลิ่นหอมบนผ้าชั้นในโดยใช้ไมโครเอนแคปซูล
จังหวัดภูเก็ตเป็นการพัฒนากระบวนการสกัดสีจากวัสดุการเกษตร เช่นเปลือกมะพร้าว เปลือกต้นยางพารา ใบสับปะรด เป็นต้น พร้อมตกแต่งผ้าผืนด้วยสารAnti UV แต่งกลิ่นหอมทำให้ผ้าบาติกมีความคงทนต่อการใช้งานนานขึ้น มีลวดลายที่ละเอียดมากขึ้น
ทั้งนี้เป็นการส่งเสริมทางการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติในด้านนวัตกรรมสิ่งทอเพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ สร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอีกด้วย

Error | คณะวิศวกรรมศาสตร์ @RMUTSV

Error

The website encountered an unexpected error. Please try again later.