รหัสและชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย                   หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อภาษาอังกฤษ              Bachelor of Engineering Program in Electronics Engineering

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย             วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์)
ชื่อย่อภาษาไทย               วศ.บ. (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ         Bachelor of Engineering (Electronics Engineering)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ           B.Eng. (Electronics Engineering)

ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความรู้และความชำนาญทางทฤษฎีและปฏิบัติ ทั้งยังมีคุณธรรมจริยธรรม
และจรรยาบรรณในสายวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ความสำคัญ
หลักสูตรที่เน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทางสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สามารถวิเคราะห์การทำงาน
และออกแบบ ระบบต่าง ๆ ทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร ระบบควบคุมอัตโนมัติ การประยุกต์
เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าเพื่อใช้งานด้านอุตสาหกรรมธุรกิจ การสื่อสาร การเกษตรและอื่นๆมีความสร้างสรรค์
อย่างเป็นระบบ สามารถเรียนรู้ และพัฒนาองค์ความรู้ในตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และนำองค์ความรู้ใหม่ๆ ไปประยุกต์ใช้
ในการแก้ไขปัญหาเข้ากระบวนการพัฒนาและวิจัย นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ






พ.ศ.2510 ทางวิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ในสมัยก่อนนั้น(ปัจจุบันได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น สถานบันเทคโนโลยีวิทยาเขตภาคใต้)
ได้เปิดแผนก วิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสังกัดอยู่ในคณะ วิชาช่างไฟฟ้า ตามความต้องการของวิทยาการสมัยใหม่ ที่ต้องการ
บุคคลากร ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะควบคุมงานด้านนี้ เปิดการเรียนการสอนในระดับ ปวส. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)
โดยรับนักศึกษาที่จบระดับ ปวช. 2สาขา คือ จบ ปวช. ช่างไฟฟ้า และ ปวช. ช่างวิทยุ-โทรคมนาคม ซึ่งในขณะนั้นจะมีเฉพาะ
ปวช. ไฟฟ้าจากเทคนิคภาคใต้และ ปวช. วิทยุ-โทรคมนาคม จากโรงเรียนการช่างสงขลา (วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ปัจจุบัน)
นักศึกษารุ่นแรกที่รับมีจำนวน 15คน มีอาจารย์ประจำอยู่ 4ท่าน หัวหน้าแผนกในขณะนั้นคือ อ.สมพงษ์ เกรียรติเลขา (ปัจจุบัน
อ.วันชัย เส็นสุวรรโน ได้เป็นอาจารย์ ที่ได้สั่งสอนลูกศิษย์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน) การเรียนการสอนในสมัยนั้น แผนกวิชาช่าง
อิเล็กทรอนิกส์ มีอาคารเฉพาะด้านหน้า และอาคารเก่าด้านหลัง โดยแบ่งอาคารอิเล็กทรอนิกส์เป็น 2 แผนก ชั้นล่างเป็น ปวช.
ช่างไฟฟ้า และชั้นบนเป็น ปวส.อิเล็กทรอนิกส์

ต่อมาในปี พศ. 2517 อ.วีระ โสวนิตย์ ได้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ (อ.วีระ โสวนิตย์ เป็นนักศึกษารุ่นแรก
ของแผนก) การรับนักศึกษาจะรับนักศึกษาจำนวน25คน โดยรับตามเกณฑ์ จะเป็นเพียงบางปีจะไม่ครบ25คน เพราะนักศึกษา
ที่รับไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ต่อมาทางแผนกเปิดรับสมัคร ปวช.ไฟฟ้าโดยตรงประมาณปี พศ.2516 ต่อมามีการต่อเติมอาคารเรียนทางด้านหลังและเปลี่ยน
การรับนักศึกษาตามเกณฑ์มาเป็นให้ครบจำนวน และได้เพิ่มจำนวน การรับนักศึกษาที่เข้าเรียนมากขึ้น เนื่องจากนักศึกษาที่มี
ความต้องการที่จะเข้าเรียนมากขึ้น ถึงจะมากอย่างไรแต่ทางแผนกก็เปิดได้เพียงรอบเดียว

    ในปี พ.ศ. 2525 ทางแผนกได้เปิดรับภาคพิเศษโดยจำนวนรวมทั้งหมด 2 ภาค 60 คน ทำให้นักศึกษาต่างจังหวัดมีโอกาส
    เรียนมากขึ้น มีนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคต่างๆ ทั้งภาคใต้ ทั้งของรัฐบาลและเอกชน เข้ามาศึกษาต่อในช่วงระยะเวลา
    ที่ผ่านมาแผนกก็เจริญเติมโตขึ้นเรื่อยๆ อ.วีระโสวนิตย์ ได้เป็นหัวหน้าแผนกจนมาถึงปี พ.ศ.2536

    ต่อมาปี พ.ศ. 2536 อ.ขจรศักดิ์ พงษ์ธนา ได้มาเป็นหัวหน้าแผนก (อ.ขจรศักดิ์ เป็นศิษย์เก่าอิเล็กฯเทคโน รุ่น15) ก็ได้มี
    การปรับปรุงอาคารเรียน ด้านหน้า ต่อเติมอาคารเรียน เพื่อรองรับการเปิด ปวส. แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ที่จะเปิดรับ
    ในปีการศึกษา2538 โดยเปิดรับนักศึกษาที่จบชั้น ปวช.สาขาอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์มาเรียนต้องใช้ระยะเวลา
    เท่ากันคือ2ปีและโครงการต่อไปในอนาคตที่ได้วางไว้คือการสร้างอาคาร 4 ชั้น และเปิดแผนกใหม่คือ แมคคาทอนิกส์
    (รับช่างกลและช่างอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งทางแผนกคาดว่าโครงการต่างๆจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตามที่คาดไว้

    ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นว่าทางแผนกของเราได้มีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งต่างๆ ที่ได้สั่งสมความดีแล้วให้ดียิ่งขึ้น
    เรื่อยๆไป ทั้งนั้นเพื่อผลิตบุลคลากรที่มีคุณภาพสู่การพัฒนาสังคมจากอดีตถึงปัจจุบัน มีวาระครบรอบ 50ปี (2510-2560)
    ในปีการศึกษานี้ ทางแผนกได้ผลิตนักศึกษาออกไปสู่ตลาดแรงงานอย่างมากมายเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของ
    บุคคลากรทางด้านนี้ เพื่อการควบคุมวิทยาการสมัยใหม่ในโลกเทคโนโลยี ปัจจุบันความต้องการของนักศึกษาที่ต้องการ
    ศึกษาต่อสามารถที่จะสอบเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันที่มีชื่อเสียงของประเทศเป็นสถิติน่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง
    ทางแผนก คณะครู อาจารย์ และศิษย์ปัจจุบัน ที่จะเข้ามาสู้สถาบันแห่งนี้จะได้มีการพัฒนาทั้งในด้านวิชาการ บุคคลากร
    และอาคารสถานที่ เพื่อความก้าวหน้าของแผนกอิเล็กทรอนิกส์ของเราต่อไป









ข้อมูลโดย อ.วันชัย เส็นสุวรรโณ
เรียบเรียงโดย อ.ดรุณี ชายทอง